ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส
ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส

ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส

ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส (กาตาลา: Xavier Romero-Frías, ชาบิเอ โรเมโร-ฟริอัส, เกิดปี พ.ศ. 2497) เป็นนักเขียนและนักวิชาการสัญชาติสเปน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านมานุษยวิทยาและด้านภาษา เคยพำนักอยู่ที่มัลดีฟส์มาเป็นเวลามากกว่า 13 ปี[1] ปัจจุบันพำนักอยู่ที่กรุงเทพมหานครฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส เริ่มต้นศึกษาเจาะลึกเรื่องคติชาวบ้านและประเพณีการพูดของชาวมัลดีฟส์ในปี พ.ศ. 2522 ช่วงที่ประเพณีมัลดีฟส์หายไปอย่างรวดเร็ว จากการเพิ่มขึ้นของลัทธิอิสลามนิยมและสมัยใหม่ เขาพูดภาษาท้องถิ่นมัลดีฟส์ได้คล่องสองภาษาและเข้าใจภาษาท้องถิ่นอื่นๆด้วย เขามีความรู้อย่างซึ้งเกี่ยวกับการเขียนภาษามัลดีฟส์และอารบิก ระหว่างที่เขาอยู่ที่นั่น ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอสให้ความสนใจเป็นพิเศษกับการรวบรวมประเพณีของมัลดีฟส์โดยการผูกมิตรกับผู้เฒ่าผู้แก่ของเกาะที่เขาไป ก่อนที่ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟิแอส จะทำงานนี้ มีงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องราวและตำนานของมัลดีฟส์ เพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น[2]หลังการทำงานมาหลายปี ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอสได้ทำการแปลตำนานและเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีบ้านและนิยายโบราณจากเกาะปะการังหลายเกาะของมัลดีฟส์ประมาณร้อยเรื่องเป็นภาษาอังกฤษได้สำเร็จ แต่ส่วนใหญ่มาจากทางตอนใต้ของมัลดีฟส์และจากมาเล เมืองหลวงของประเทศ[3] หลังจากนี้ เขาได้พำนักในอินเดีย 12 ปี เพื่อศึกษาภาษาสันสกฤต และวิจัยต้นกำเนิดของมรดกทางวัฒนธรรมของมัลดีฟส์ ในช่วงเวลานั้นเขาได้ตีพิมพ์เอกสารอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการวิจัยเกี่ยวกับเอกลักษณ์สืบทอดจากบรรพบุรุษของมัลดีฟส์ ซึ่งไม่รวมถึงแค่ตำนานเท่านั้น แต่ยังรวมการทั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับศาสนาท้องถิ่น แบบวาดรูปเรือ และตัวอย่างศิลปะท้องถิ่น ในบรรดาประเพณีโบราณอื่นๆของมัลดีฟส์ [4] บทสุดท้ายของหนังสืออธิบายถึงผลกระทบของอุดมการณ์ความคิดของอิสลามเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณี ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของนักวิชาการชาวอังกฤษชื่อ เอช ซี พี เบลล์ ตามนักวิชาการชาวศรีลังกาที่ชื่อ โรฮาน กูนารัตนา ดร.โรแลนด์ ซิลวา ผู้อำนวยการกองโบราณคดีศาสตร์ของศรีลังกาในช่วงระหว่างปี 2526 และ 2535 ได้เปรียบเทียบงานชิ้นบุกเบิกของ ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส กับงานของ เฮนรี่ พาร์คเกอร์ นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ ที่รวบรวมนิยายพื้นบ้านของหมู่บ้านในประเทศศรีลังกาประมาณปี 2423[5]ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส ได้รับเชิญจาก ศาสตราจารย์ วี สุดาร์ซาน หัวหน้าแผนกมานุษยวิทยาให้มาสอนที่มหาวิทยามัดราสในช่วงปีทศวรรษที่ 80 ในฐานะของศิลปิน เขาได้ยกตัวอย่างหนังสือสำหรับ อี ดี ซี (ศูนย์พัฒนาการศึกษา) ของกระทรวงศึกษาธิการ ในมาลี มัลดีฟส์ และระบายสีปลาในทะเลมัลดีฟส์ รวมทั้งตำนานของมัลดีฟส์ และการเดินเรือในสมัยก่อน มีการแสดงผลงานของฮาเวียร์ โรเมโร-ฟิแอส ภาพวาดในเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในปี 2530 ในช่วงสามสิบปีที่ผ่ายมาเขาได้เขียนบทความและความเห็นมากมาย [6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฮาเวียร์ โรเมโร-ฟริแอส http://unsworks.unsw.edu.au/fapi/datastream/unswor... http://www.maldives-ethnography.com/books.html http://www.maldives-ethnography.com/scripts.html http://www.maldivesculture.com/index.php?option=co... http://www.maldivesroyalfamily.com/maldive_flags_r... http://www.niaspress.dk/catalogue2011/Catalogue_20... http://independent.academia.edu/XavierRomeroFrias http://redalyc.uaemex.mx/redalyc/pdf/767/767156420... http://almanac.afpc.org/maldives# http://lib.sac.or.th/opac1.3/Catalog/BibItem.aspx?...